วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แนวทางการลดค่าไฟฟ้าสำหรับตู้เย็น

  1. ลดการเปิดตู้เย็นโดยไม่จำเป็นเพราะค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นตามการเปิด
  2. ลดการเปิดตู้เย็นค้างไว้เป็นเวลานานๆ
  3. ไม่นำของร้อนหรือยังอุ่นๆอยู่แช่ตู้เย็นเพราะจะทำให้ตู้เย็นทำงานหนักเปลืองไฟ ควรรอให้เย็นก่อนค่อยนำเข้าตู้เย็น
  4. ไม่ควรนำของเข้าไปแช่ในตู้เย็นจนแน่นเกินไปเพราะจะทำให้ความเย็นใหลเวียนไม่สะดวก
  5. ไม่ควรตั้งตู้เย็นไว้ใกล้แหล่งที่ให้ความร้อน เช่นหม้อหุงข้าว เตาแก๊ส หรือถูกแสงอาทิตย์เพราะตู้เย็นจะระบายความร้อนได้ไม่ดีและเปลืองไฟฟ้า
  6. ควรตั้งอุณภูมิภายในตู้เย็นประมาณ 3-6 องศาเซลเซียส ในช่องฟีสควรปรับตั้งอุณภูมิไว้ที่ -15 ถึง -18 องศาเซลเซียส
  7. หมั่นละลายน้ำแข็งอย่าปล่อยให้น้ำแข็งเกาะมากเกินไป
  8. ควรตั้งตู้เย็นให้ห่างจากผนังและด้านข้างอย่างน้อย 15 เซนติเมตร เพื่อการระบายความร้อนได้ดี และสามารถช่วยประหยัดไฟฟ้าได้ถึงร้อยละ 39 เลยทีเดียว
  9. ควรเลือกขนาดตู้เย็นให้เหมาะกับขนาดครอบครัว
  10. เลือกตู้เย็นที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
  11. ตรวจสอบยางขอบประตูตู้เย็นโดยเสียบกระดาษระหว่างขอบยางแล้วปิดประตูตู้เย็น ถ้ากระดาษสามารถเลื่อนขึ้นลงได้แสดงว่าขอบยางประตูเสื่อมควรเปลี่ยนขอบยางใหม่เพราะไม่เช่นนั้นคอมเพลสเซอร์จะทำงานหนักทำให้เปลืองไฟฟ้า

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แนวทางการลดค่าไฟฟ้าสำหรับโทรทัศน์


  1. เลิกเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้โดยไม่มีคนดู เปิดทิ้งไว้วันละ 1 ชั่วโมง พร้อมกัน 1 ล้านเครื่อง(21 นิ้ว 110 วัตต์) สิ้นเปลืองค่าไฟเดือนละ 9.9 ล้านบาท*
  2. เลิกปรับหน้าจอให้สว่างเกินความจำเป็นเพราะเป็นการเปลืองไฟโดยใช่เหตุและอายุของหลอดภาพสั้น
  3. เลิกเปิดโทรทัศน์หลายเครื่องเพื่อที่จะดูรายการเดียวกัน(สำรับบ้านที่มีหลายเครื่อง)
  4. เลิกเปิดโทรทัศน์ล่วงหน้าเพื่อรอดูรายการที่ชอบ ควรเปิดเมื่อถึงเวลาที่ออกอากาศ
  5. เลิกปิดโทรทัศด้วยรีโมทคอนโทรลเพราะยังมีส่วนที่ใช้ไฟฟ้าทำงานอยู่ทำให้เปลืองไฟ ควรปิดสวิตช์ที่ตัวเครื่องเพื่อการประหยัด
  6. เลิกเปิดโทรทัศน์โดยที่ยังมีการต่อพ่วงกับสายเครื่องเล่นวีดีโอ เพราะจะมีไฟฟ้าบางส่วนจ่ายไปที่เครื่องเล่นวีดีโอด้วยทำให้สิ้นเปลือง
  7. เลือกซื้อโทรทัศน์ขนาดให้เหมาะสมกับความจำเป็น ขนาดใหญ่กินไฟมากกว่าขนาดเล็ก
  8. เลือกซื้อโทรทัศน์แบบมีโหมดการตั้งเวลาปิดอัตโนมัติ
*คิดที่อัตราค่าไฟฟ้า 3 บาทต่อหน่วย

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

รับสมัครผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้รับผิดชอบ ด้านพลังงานสามัญ/อาวุโส

ข่าวดีสำหรับเจ้าของอาคาร/โรงงานควบคุมที่พลาดโอกาสส่งพนักงานเข้าอบรมใน หลักสูตร ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญ (อาคารหรือโรงงาน) และหลักสูตร ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานอาวุโส ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ (หลักสูตรไฟฟ้าและความร้อน) ประจำปีงบประมาณ 2552 ขณะนี้ สำนักพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน (สพบ.) กำลังพิจารณาจัดให้มีการฝึกอบรมในหลักสูตรดังกล่าว ประจำปีงบประมาณ 2553 ในเร็วๆ นี้

ดังนั้น จึงขอแจ้งให้เจ้าของอาคาร/โรงงานควบคุม จัดส่งใบสมัครเข้าอบรมในหลักสูตรดังกล่าวได้ที่ สำนักพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ (บริเวณเทคโนธานี) ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 0 2577 7035-41 โทรสาร 0 2577 7047 หรือ www2.dede.go.th/bhrd

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.dede.go.th/dede/index.php?id=1043


วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

รู้หรือไม่แค่ปิดหน้าจอคอมก็ช่วยชาติประหยัดพลังงานได้........

ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีต่างๆของโลกเราได้มีการพัฒนาไปสู่ระบบที่เป็นดิจิตอลเต็มตัวขึ้นและคอมพิวเตอร์ก็เข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นจากที่มีใช้เฉพาะในองค์กรใหญ่ๆหรือหน่วยงานของรัฐเท่านั้นปัจจุบันแทบจะพูดได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้าไปมีส่วนในเกือบทุกครัวเรือนด้วยซ้ำ และด้วยปัจจุบันนี้ราคาคอมพิวเตอร์ต่อเครื่องไม่ได้แพงมากมายเหมือนเมื่อหลายปีก่อนทำให้จำนวนของคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นมากในช่วงปีหลังๆนี้ และสิ่งที่เพิ่มตามมากับการเพิ่มขึ้นของจำนวนคอมพิวเตอร์นั่นก็คือพลังงานไฟฟ้าที่ถูกใช้เพิ่มมากขึ้นด้วย

แม้คอมพิวเตอร์อย่างเช่นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ PC นั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าจะใช้กำลังไฟฟ้าอยู่ประมาณ 100 - 200 วัตต์ซึ่งอาจจะมองว่าน้อยแต่เมื่อมีคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องรวมกันและถูกเปิดใช้งานเป็นระยะเวลานานๆนั้นก็ถือว่าใช้พลังงานไปมหาศาลทีเดียวและการเปิดใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นก็ใช่ว่าจะทำงานตลอดเวลา อาจจะมีช่วงที่ไม่ได้ใช้งานถูกเปิดทิ้งไว้บ้าง แล้วเราจะมีวิธีอย่างไรล่ะที่จะลดการสูญเสียในช่วงดังกล่าวได้โดยที่ไม่กระทบต่อการทำงานของเรา....


คุณรู้หรือไม่ว่าคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะที่เราใช้อยู่ใช้กำลังไฟฟ้าไปเท่าไร?

โดยทั่วไปแล้วคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ PC ในปัจจุบันนี้จะใช้กำลังไฟฟ้าอยู่ประมาณ 100 - 200 วัตต์ ซึ่งในแต่ละชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์นั้นก็จะใช้กำลังไฟฟ้าแตกต่างกันดังแสดงในตารางด้านล่า



จากตารางการใช้พลังงานไฟฟ้าของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ PC ด้านบนจะสังเกตุเห็นว่าส่วนที่ใช้พลังงานมากที่สุดนั่นก็คือ จอมอนิเตอร์ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 25-50 ของพลังงานที่คอมพิวเตอร์ใช้ทั้งหมดเลยทีเดียว

แนวทางการประหยัดพลังงานกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ PC


1. เลือกใช้คอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับความต้องการ
2. ไม่เปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้เป็นเวลานานๆ เมื่อไม่ได้ใช้งานเพราะจะทำให้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า
3. ปิดเครื่องและถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้
4. ปิดหน้าจอเมื่อไม่ได้ใช้งานนานกว่า 15 นาที
5. พึงระลึกไว้เสมอว่าสกรีนเซฟเวอร์ไม่ใช่ซอฟแวร์ช่วยประหยัดพลังงาน
6. เลือกใช้คอมพิวเตอร์ที่มีระบบประหยัดพลังงานแสดงโดยเครื่องหมาย Energy Star จะช่วยลดการใช้พลังงานลงสูงสุดถึงร้อยล่ะ 55 เลยทีเดียว


เครื่องหมาย Energy Star โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมของประเทศสหรัฐอเมริกา (US.EPA) ได้กำหนดมาตรฐานในเรื่องการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสำหรับอุปกรณ์หลาก หลายประเภท รวมทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขึ้นมาตรฐานนี้เป็นที่ยอมรับและถูกใช้งานอย่าง แพร่หลายในวงการอุตสาหกรรม

ซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่ต้องมีเครื่องหมาย Energy Star

เป็นที่ทราบกันว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีเครื่องหมาย Energy Star นั้นสามารถช่วยลดการใช้พลังงานของคอมพิวเตอร์ลงได้ถึงร้อยล่ะ 55 เลยทีเดียว ซึ่งสำคัญอย่างไรเรามาดูกัน

หากคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะเดิมที่เราใช้งานอยู่นั้นใช้กำลังไฟฟ้าอยู่ประมาณ 150 วัตต์ แต่หากเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีเครื่องหมาย
Energy Star จะใช้พลังงานประมาณ 67.5 วัตต์ ประหยัดไฟฟ้าไปถึง 82.5 วัตต์ ซึ่งอาจจะดูไม่มากแต่ถ้าหากในองกรณ์หรือหน่วยงานของคุณมีคอมพิวเตอร์อยู่ 100 เครื่อง จะประหยัดไปได้ 8.25 กิโลวัตต์ สมมติว่าองกรณ์หรือบริษัทเราทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน และทำงานประมาณ 300 วันต่อปี จะประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าไปได้ถึง 19,800 กิโลวัตต์ต่อปีและหากเราเสียค่าไฟฟ้าอยู่ประมาณหน่วยล่ะ 3 บาท ดังนั้นเราจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนของพลังงานไฟฟ้ากับคอมพิวเตอร์ไปได้ถึง 59,400 บาท ซึ่งถือว่าเยอะทีเดียวกับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พลังงานแบ่งเป็นกี่ประเภท

เราอาจสามารถจำแนกประเภทของพลังงานตามแหล่งที่มาได้ 2 ประเภท คือ
  1. พลังงานต้นกำเนิด(Primary energy) คือ พลังงานในรูปแบบของทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ไม้ฟืน แกลบ น้ำ น้ำมัน ถ่านหิน แก๊สธรรมชาติ พลังงานใต้พื้นพิภพ แร่ยูเรเนียม ลม แสงอาทิตย์ เป็นต้น
  2. พลังงานแปรรูป(Secondary energy) คือ พลังงานที่ได้จากการแปรเปลี่ยนหรือนำเอาพลังงานต้นกำเนิดนั้นมาแปรรูปเป็นพลังงานรูปแบบต่างๆตามที่ต้องการ เช่น พลังงานไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตเลียม แก๊สธรรมชาติ เป็นต้น

พลังงานต้นกำเนิด(Primary energy) ยังสามารถแบ่งได้อีก 2 ชนิด คือ
  • พลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หรือพลังงานหมุนเวียน(Renewable energy) เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม พลังงานคลื่น(น้ำ) พลังงานชีวมวล พวกเศษไม้ฟืน แกรบ ชานอ้อย พลังงานความร้อนใต้พื้นภิภพ พลังงานน้ำเป็นต้น
  • พลังงานที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หรือใช้แล้วหมดไป(Non-renewable energy) เช่น เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ถ่านหิน แร่ยูเรเนียม น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งพลังงานเหล่านี้มากกว่าร้อยล่ะ 80 เป็นพลังงานที่เราใช้ในทุกวัน

วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประกาศรับสมัครผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วม





กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานกระทรวงพลังงาน(พ.พ.)ร่วมกับ บริษัท เอ็นเนอร์ยี ดีไซน์ คอนเซปท์ จำกัด ได้ประกาศรับสมัครผู้ประกอบการที่เป็นกลุ่มธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรมและอาคาร ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (กลุ่มภาคกลางตอนบน) เข้าร่วม"โครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วม"เพื่อรับสิทธิประโยชน์ด้านอนุรักษ์พลังงาน โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น อ่านเพิ่มเติม...

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พลังงานคืออะไร??

หลายๆคนอาจจะสงสัยและอยากจะรู้ว่าพลังงานคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรกับมนุษย์เรา และวิกฤติที่เกิดขึ้นกับพลังงานปัจจุบันนี้จะส่งผลกระทบอย่าไรกับเราบ้าง รอบรู้เรื่องพลังงานหัวข้อนี้จะได้อธิบายให้คุณได้เข้าใจว่าพลังงานนั้นคืออะไร และมีความสำคัญกับมนุษย์อย่างไรบ้าง

"พลังงาน"(Energy) หมายถึง ความสามารถในการทำงานหรือทำให้เกิดงาน(The ability to do work) ผลการทำงานของแรงนั้นทำให้วัตถุหรือสิ่งใดๆเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหว พลังงานนั้นสามารถจัดเก็บไว้ได้ พลังงานไม่สามารถถูกทำลายได้แต่สามารถเปลี่ยนแปลงจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้ เช่น พลังงานแสงไปเป็นพลังงานไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกลหรือพลังงานความร้อนเป็นต้น


มนุษย์เรารู้จักกับพลังงานและนำพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเองเมื่อประมาณเกือบๆล้านปีมาแล้วและพลังงานที่ใช้และคนพบยุคแรกคือพลังงานจาก"ไฟ" โดยที่มนุษย์โบราณนำมาใช้ในการให้ความอบอุ่นกับตัวเองและในการหุงหาอาหาร ป้องกันสัตว์ร้ายและในยุคต่อๆมาประมาณพันกว่าปีก่อนชาวอียิปต์ได้เรียนรู้ที่จะประยุกต์เอาพลังงานลมมาใช้ในการเดินเรือซึ่งก็เป็นที่มาของใบพัดเรือและกังหันวิดน้ำพลังงานลม ต่อมาสักประมาณสองร้อยกว่าปีก็มีการคนพบพลังงานรูปแบบต่างมากมายไม่ว่าจะเป็นพลังงานไฟฟ้า พลังงานจากน้ำมัน พลังงานน้ำพลังงานกล

ปัจจุบันนี้พลังงานถือได้ว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์เราอย่างมากและจะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นเมื่อโลกมีการพัฒนามากขึ้น กอรปกับการที่ประชากรของโลกเพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อนทำให้ความต้องการพลังงานมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมากและมีแนวโน้มที่สูงขึ้นในทุกๆปี และด้วยที่ความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้เองรูปแบบของพลังงานและแหล่งพลังงานก็ค่อยๆเปลี่ยนแปลงรูปแบบไป เช่นแต่ก่อนนิยมใช้น้ำมันเป็นหลักแต่เมื่อปริมาณน้ำมันของโลกลดลงทำให้เราหันมาให้ความสำคัญและใช้พลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวล เป็นต้น

ประเทศไทยเราซึ่งถือว่ามีทรัพยากรธรรมชาติอยู่พอสมควรแต่ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้เป็นแหล่งพลังงานนั้นอาจจะมีน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ทำให้พลังงานหรือเชื้อเพลิงบางอย่างไทยจำเป็นที่จะต้องนำเข้าพลังงานเหล่านี้จากต่างประเทศ เช่น น้ำมัน เป็นต้น และเมื่อโลกเกิดวิกฤติของพลังงานทำให้ไทยเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่โดนไปด้วย......